ประวัติ ของ ปรีชา จันทร์โอชา

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของพันเอก ประพัฒน์ กับนางเข็มเพชร จันทร์โอชา มีชื่อเล่นว่า "ติ๊ก" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กติ๊ก" เป็นน้องชายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา สมรสกับนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา มีบุตรคือ ว่าที่ร้อยตรี ปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา นายทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 โรงเรียนเตรียมทหารได้มอบรางวัลเกียรติยศจักรดาวให้พลเอก ปรีชา ใน พ.ศ. 2559 และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้มอบเหรียญเกียรติคุณชั้นที่ 1 ให้แก่พลเอก ปรีชา ใน พ.ศ. 2560

ลำดับสาแหรกของพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. เพ่ง จันทร์โอชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. พันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. สมบุญ จันทร์โอชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. เข็มเพชร จันทร์โอชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

การศึกษา

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26

การเมือง

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ปรีชา ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบมีการแจ้งยอดเงินฝากทั้งหมด 42 ล้านบาท มีการแจ้งบัญชีเงินฝาก 10 บัญชี เป็นเงิน 89 ล้านบาทและนำเงินกองทัพภาคที่ 3 ฝากไว้ในบัญชีภรรยาคือนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา ส่วนดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีดังกล่าวยังไม่ทราบว่าเป็นของใคร ยังไม่มีการชี้แจงในประเด่นนี้ ด้านนายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดพลาด อาจแจงบัญชีเงินฝากของกองทัพที่พลเอก ปรีชา เป็นผู้ถือบัญชีด้วยเพื่อความโปร่งใส[5] วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ปรีชา ชี้แจงว่า ภรรยาตนเป็นผู้มีฐานะอยู่แล้ว อีกทั้งเก็บเงินสะสมเกือบ 30 ปี และทรัพย์สินบางส่วนเป็นบัญชีของทางราชการที่ตนเองมีอำนาจลงลายมือชื่อด้วย ไม่ใช่เงินของตัวเอง[6]

เดือนพฤษภาคม 2562 เขาลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อไปสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา[7] ด้านวีระ สมความคิดระบุว่า เขาลาประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 394 วันจาก 400 วัน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรีชา จันทร์โอชา http://www.komchadluek.net/detail/20160419/226122.... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/1... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/...